ประมวลภาพถ้ำหลวง 13 ชีวิต เข้าไปติด เส้นทางลำบาก อึดอัด-มืด ไปสุดทางหายใจไม่ออก!!



จากเหตุการณ์ทีมฟุตบอลเยาวชนและครูฝึกสอน 13 คน พลัดหลงและติดอยู่ภายในถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน ในวนอุทยานขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย เมื่อเย็นวันที่ 23 มิ.ย. 61 หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่หลายภาคส่วนอยู่ระหว่างการระดมกำลังช่วยเหลือ และจัดทีมค้นหาอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้ทั้งหมดออกมาจากถ้ำได้ออกมาอย่างปลอดภัย ท่ามกลางความหวังของญาติ ๆ ที่ปักหลักรออยู่หน้าถ้ำ



ล่าสุดมีการเผยภาพ พร้อมผลสำรวจ ถ้ำหลวง หลังกลุ่มนักฟุตบอลเยาวชนและโค้ช รวม 13 คน ติดอยู่ภายในถ้ำหลวง วนอุทยานถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน อ.แม่สาย จ.เชียงราย ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 23 มิ.ย. ที่ผ่านมา โดยถ้ำส่วนใหญ่มีการไหลผ่านของน้ำ โดยเฉพาะฤดูฝน ที่ต้องมีการปิดถ้ำ

โดยเจ้าของเฟซบุ๊ก Nunune Ntk โพสต์ภาพภายในถ้ำมุมต่างๆ พร้อมข้อความว่า "รูปถ่ายภายในถ้ำหลวง จากการสำรวจถ้ำ เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ประมาณวันที่ 12-13 มีนาคม 2559 (เรียงลำดับจากนอกเข้าไปข้างในแล้วบางส่วน) รูปถ่ายโดย อ.ต้อย รศ.ดร.นาฎสุดา ภูมิจำนงค์ ม.มหิดล ((((ทีมสำรวจถ้ำกรมทรัพยากรธรณี ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล)))) #หวังว่าน้องๆจะหลบอยู่ตรงไหนสักที่นะ เอาจริงๆคือแทบจะจำที่นั่นไม่ได้แล้ว รู้เพียงแต่ว่าตอนนั้นพอเข้าไปสุดทางเดินแล้ว รีบเดินออกมาก่อน มันอึดอัดหายใจไม่ออก ไฟใกล้หมด เดินเหมือนวิ่งออกมา ตอนนี้ภาพมันวนเวียนอยู่ในหัวจนต้องมาเปิดรูปดู "จะไม่โทษว่าเป็นความผิดของใคร ขอให้น้องกลับออกมาอย่างปลอดภัย แต่เราควรนำบทเรียนนี้ มาแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก"




ปล.รูปถ่ายนานแล้ว จึงทำให้ไม่แน่ใจในเรื่องของตำแหน่งที่ชัดเจน สุดทางเดินนะตอนนั้น คือ ถึงเท่าที่สามารถเดินไปได้ เนื่องจากตอนนั้นมีเจ้าหน้าที่อุทยานนำเดิน ค่อยแนะนำเส้นทางที่ปลอดภัยซึ่งน่าจะยังไปไม่สุด ถ้ำนี้เราไปเพื่อสำรวจเบื้องต้นเท่านั้น ไม่ได้สำรวจถ้ำโดยละเอียด เราไม่ได้ชำนาญเส้นทางนะคะ การเข้าถ้ำครั้งแรกๆ ยังคงต้องอาศัยคนในท้องถิ่นที่ชำนาญเส้นทางค่ะ นอกจากว่าถ้ำนั้นมีการสำรวจถ้ำโดยละเอียด(ใช้เวลานาน) มีการเดินเข้าสำรวจหลายครั้งถึงจะชำนาญเส้นทาง สามารถระบุตำแหน่งที่ชัดเจนได้"

พร้อมคัดข้อมูลมาจากรายงาน โครงการเตรียมรับมือและป้องกันผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจมีผลต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมแหล่งธรรมชาติอันควรอนุรักษ์ประเภทถ้ำ เผยถึงสภาพถ้ำหลวงแห่งนี้ ช่วงหนึ่งว่า ถ้ำส่วนใหญ่มีการไหลผ่านของน้ำ โดยเฉพาะฤดูฝน ที่ต้องมีการปิดถ้ำ หากมีการอนุญาตให้นักท่องเที่ยว เข้าเที่ยวชมตามลำพัง และไม่มีข้อห้าม เส้นทางเดินที่ไม่ชัดเจน หินงอกหินย้อยอาจได้รับผลกระทบ ผู้ชมต้องมีความรู้













ที่มา : FB@Nunune Ntk