เป็นที่สงสัยกันมาอย่างยาวนาน สำหรับ น้ำดื่ม ทิ้งไว้ในรถ
ตากแดดนาน ๆ นั้นอันตรายหรือไม่ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า
รถทุกคันจะต้องมีน้ำดื่มติดไว้เสมอ ไม่ว่าจะได้จากการเติมน้ำมัน
หรือมีติดรถไว้เผื่อกระหายขณะเดินทาง แล้วเมื่อเราปล่อยทิ้งตากแดดไว้นาน ๆ
จะมีผลอย่างไร ?
ขวดพลาสติกที่ตากแดดนาน ๆ นั้นจะมีสารไดออกซิน และสาร BPA แพร่ออกมาทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือไม่ ? วันนี้เราจะไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ
ก่อนอื่น เราไปรู้จักกับสารไดออกซิน กันก่อนค่ะ
จากการศึกษาจากกรมวิยาศาสตร์ และอาจารย์จากมหาวิยาลัยมหิดล
ขวดน้ำดื่ม ที่ทำจากพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของสารไดออกซิน หรือแม้ว่าจะเป็นพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ซึ่งมีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงพอที่จะก่อให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกอย่างพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ไม่เป็นที่นิยมนำมาผลิตเป็นขวดน้ำดื่ม
จากการค้นข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ในวารสารที่มีการพิจารณาตรวจแก้จากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินใน
พลาสติก
และห้องปฏิบัติการไดออกซิน สำนักคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการทดลองซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่จำหน่ายในตลาดสด และซุปเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ นำไปวางในรถที่จอดกลางแดด เป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์หาสารประกอบกลุ่มไดออกซิน
ผลการวิเคราะห์ สรุปได้ว่า ไม่พบสารประกอบกลุ่มไดออกซิน และพีซีบีในทุก
ตัวอย่าง
สรุปได้ว่า.. ขวดน้ำดื่มพลาสติก ทิ้งไว้ในรถ กลางแดด ไม่มีสารไดออกซินเจือปน และไม่ก่อให้เกิดสารมะเร็งอย่างแน่นอนค่ะ
ทั้งนี้การเลือกน้ำดื่ม ควรเลือกน้ำดื่มที่ได้มาตรฐาน และคุณภาพ มีหลายยี่ห้อที่จำหน่ายในประเทศไทย.
ดังนั้นเราสามารถสบายใจได้เลยค่ะว่า ไม่ว่าน้ำดื่มบนรถ จะตากแดดไว้นาน ก็ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งอย่างแน่นอนค่ะ
ขวดพลาสติกที่ตากแดดนาน ๆ นั้นจะมีสารไดออกซิน และสาร BPA แพร่ออกมาทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือไม่ ? วันนี้เราจะไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กันค่ะ
ก่อนอื่น เราไปรู้จักกับสารไดออกซิน กันก่อนค่ะ
สารไดออกซิน คืออะไร?
สารไดออกซิน นั้นเป็นผลผลิตทางเคมีที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งกลุ่มสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดพิษมีทั้งหมด 29 ชนิด แหล่งกำเนิดสำคัญของสารกลุ่มนี้ คือ กระบวนการผลิตเคมีภัณฑ์ที่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ หรือกระบวนการเผาไหม้อุณหภูมิสูงทุกชนิดสารไดออกซิน สามารถแพร่ออกจากขวด น้ำดื่ม ที่ทิ้งไว้ในรถ ได้หรือไม่?
ขวดน้ำดื่ม พลาสติกขนาดเล็ก ปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ ขวดสีขาวขุ่น ทำจากพลาสติดชนิดพอลิเอทิลิน (PE) และขวดใสไม่มีสีทำจากพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันมากกว่าขวดน้ำดื่มแบบขาวขุ่นจากการศึกษาจากกรมวิยาศาสตร์ และอาจารย์จากมหาวิยาลัยมหิดล
ขวดน้ำดื่ม ที่ทำจากพลาสติกชนิด PET พลาสติกเหล่านี้ไม่มีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบที่จะเป็นต้นกำเนิดของสารไดออกซิน หรือแม้ว่าจะเป็นพลาสติกชนิดอื่น เช่น พอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ซึ่งมีสารคลอรีนเป็นองค์ประกอบ แต่อุณหภูมิของน้ำในขวดไม่ได้สูงพอที่จะก่อให้เกิดสารไดออกซินขึ้นมาได้ อีกอย่างพอลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) ไม่เป็นที่นิยมนำมาผลิตเป็นขวดน้ำดื่ม
จากการค้นข้อมูลทางวิชาการที่มีการศึกษาวิจัย และเผยแพร่ในวารสารที่มีการพิจารณาตรวจแก้จากผู้ทรงคุณวุฒิ สรุปได้ว่า ไม่เคยมีรายงานการตรวจพบไดออกซินใน
พลาสติก
และห้องปฏิบัติการไดออกซิน สำนักคุณภาพ และความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทำการทดลองซื้อตัวอย่างน้ำดื่มที่จำหน่ายในตลาดสด และซุปเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 18 ยี่ห้อ นำไปวางในรถที่จอดกลางแดด เป็นเวลา 1 วัน และ 7 วัน จากนั้นตรวจวิเคราะห์หาสารประกอบกลุ่มไดออกซิน
ผลการวิเคราะห์ สรุปได้ว่า ไม่พบสารประกอบกลุ่มไดออกซิน และพีซีบีในทุก
ตัวอย่าง
สรุปได้ว่า.. ขวดน้ำดื่มพลาสติก ทิ้งไว้ในรถ กลางแดด ไม่มีสารไดออกซินเจือปน และไม่ก่อให้เกิดสารมะเร็งอย่างแน่นอนค่ะ
ทั้งนี้การเลือกน้ำดื่ม ควรเลือกน้ำดื่มที่ได้มาตรฐาน และคุณภาพ มีหลายยี่ห้อที่จำหน่ายในประเทศไทย.
ดังนั้นเราสามารถสบายใจได้เลยค่ะว่า ไม่ว่าน้ำดื่มบนรถ จะตากแดดไว้นาน ก็ไม่ก่อให้เกิดมะเร็งอย่างแน่นอนค่ะ