สูตรลาขาด “ตาปลา” ถอนรากถอนโคน พร้อมวิธีป้องกัน ไม่ให้เป็นอีก
ถ้าพูดถึง “ตาปลา” แล้วนั้น ไม่มีใครคงไม่รู้หรอกว่ามันจะรู้สึกเจ็บแค่ไหน แน่นอนว่าแบบนี้เราจะต้องรีบหาวิธีมารักษาตาปลาให้ทันเวลา ส่วนคนที่ไม่เป็นตาปลาก็น่าจะรู้ข้อมูลไว้ด้วยก็ดี เพื่อที่จะได้ป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับตัวเอง
“ตาปลา” จริงๆแล้วมันก็คือก้อนหนังขี้ไคลที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของผิวหนัง ที่สะสมกันเป็นระยะเวลานานนั่นเอง เราจึงพบตาปลาเกิดขึ้นได้เมื่อครั้งบริเวณฝ่าเท้าของเรา เพราะมันเป็นส่วนที่แบกรับน้ำหนักไว้ตลอดทั้งวัน
อาการของตาปลา ถ้าเป็นตาปลาขึ้นมาล่ะก็สิ่งแรกที่เราจะรู้สึกได้ก็คือความเจ็บปวดนี่แหละ เห็นตุ่มแข็ง ๆ เม็ดเล็กนิดเดียว ก็ทำให้เจ็บจี๊ดได้เลยนะ โดยเฉพาะถ้าตาปลามีขนาดใหญ่ แล้วเราต้องไปทำกิจกรรมที่ต้องใช้ฝ่าเท้ารับน้ำหนักมาก เช่น วิ่ง เดินนาน ๆ ยืนนาน ๆ หรือคนที่เป็นตาปลามีน้ำหนักมาก ก็ยิ่งทำให้เจ็บมากขึ้น เพราะก้อนแข็ง ๆ นี้จะยิ่งถูกกดให้ลึกเข้าไปในผิวหนัง บางทีไปกดทับกระดูกหรือเส้นประสาทเข้าอีก แบบนี้ต้องรีบหาวิธีรักษาเลย
วิธีรักษาตาปลาที่เท้า การรักษาตาปลาให้ได้ผลนั้นมีอยู่หลายวิธีที่ขอนำเสนอก็คือ
1. ใช้พลาสเตอร์ที่มีกรดซาลิไซลิก 40% ปิดส่วนที่เป็นตาปลาทิ้งไว้ 2-3 วัน จากนั้นค่อยแกะพลาสเตอร์ออก แล้วแช่เท้าในน้ำอุ่นเพื่อให้ผิวหนังตรงฝ่าเท้านิ่มลง จะช่วยทำให้ตาปลาหลุดลอกออกไปได้ง่ายขึ้น แต่ถ้าตาปลาหลุดลอกออกไปยังไม่หมด ก็ให้แปะพลาสเตอร์ซ้ำ แล้วกลับมาแช่น้ำอุ่นอีกครั้ง
2. ใช้ยาแอสไพริน (แต่ไม่ได้ให้ทานนะ) โดยในแอสไพรินก็มีกรดซาลิไซลิกเช่นกัน ก็ช่วยกัดตาปลาได้ (แต่คุณต้องมั่นใจด้วยว่าตัวเองไม่แพ้ยาแอสไพริน) วิธีใช้ก็คือ นำแอสไพริน 5 เม็ดมาบดเป็นผง แล้วผสมกับน้ำมะนาว 12 ช้อนชา และน้ำเปล่าอีก 12 ช้อนชา จากนั้นนำมาป้ายตรงตาปลา แล้วใช้พลาสติกมาห่อไว้ ตบ
3. ทายากัดตาปลาหรือหูด วันละ 1-2 ครั้ง หรือจนกว่าตาปลาจะหลุดออกไปหมด โดยมีคำแนะนำคือ ก่อนทายาให้แช่เท้าในน้ำอุ่นก่อนสัก 15-20 นาที เพื่อให้
ผิวหนังนิ่มขึ้น แล้วใช้ผ้าขนหนูมาถูตรงตาปลาเพื่อลอกขุยออก จากนั้นอาจใช้วาสลินหรือน้ำมันมะกอกมาทาผิวรอบ ๆ ตาปลา เพื่อที่ผิวบริเวณนั้นจะได้ไม่ถูกตัวยาไปกัดผิวหนัง แล้วค่อยแต้มยาลงบนตาปลา ปิดท้ายด้วยการพันผ้าขนหนูอุ่น ๆ ทับอีกชั้นหนึ่ง ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วถอดออก แล้วใช้หินมาขัดเบา ๆ จะช่วยให้ตาปลาลอกออกมา
4. เปลือกสับปะรด ให้นำเปลือกที่ไม่ใช้แล้วมาหั่นเป็นชิ้นขนาดพอดีกับตาปลา แล้วแปะลงตรงตาปลาและปิดทับด้วยปลาสเตอร์ทิ้งไว้ 1 คืน จากนั้นแกะออกล้างให้สะอาด และทาบริเวณตาปลาด้วยน้ำมันมะพร้าว โดยให้ทำแบบนี้ติดต่อกันเป็นประจำจนกว่าจะหาย
5. กระเทียม ให้ฝานกระเทียมสดเป็นชิ้นหนา ๆ แล้วนำมาถูบริเวณที่เป็นตาปลา แล้วใช้กระเทียมส่วนที่เหลือนำมาสับใช้พอกตรงตาปลา พันทับด้วยผ้าพันแผลหรือปลาสเตอร์ ปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วจึงค่อยแกะออก โดยให้ทำซ้ำกันทุกคืนติดต่อกันเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์
6. น้ำมันละหุ่ง น้ำมันชนิดนี้เป็นสารเคมีที่มีฤทธิ์แรง ในการใช้จึงต้องระมัดระวังให้มาก โดยให้หาเทปพันแผลหรือปลาสเตอร์แบบที่เป็นรูตรงกลางมาปิดไว้รอบ ๆ ให้เหลือแต่บริเวณที่เป็นตาปลา แล้วใช้น้ำมันละหุ่งหยอดและกดทับด้วยสำลี แล้วปิดทับด้วยเทปพันแผลเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำมันซึมออกมา จากนั้นให้ปล่อยทิ้งไว้ข้ามคืนแล้วล้างออกในตอนเช้า
7. น้ำส้มสายชูกลั่น ให้นำน้ำส้มสายชูมาผสมกับน้ำ 3 ส่วน แล้วนำสำลีชุบน้ำส้มสายชูทาลงบนตาปลา ปิดทับด้วยผ้าพันแผลทิ้งไว้ 1 คืน ในตอนเช้าให้แกะออกแล้วขัดด้วยหินขัดเท้าเบา ๆ จากนั้นให้บำรุงด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันมะพร้าว วิธีนี้ให้ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่าตาปลาจะหลุดออก แต่ต้องระวังอย่าให้น้ำส้มสายชูเข้มข้นจนเกินไป
ส่วนใครที่เคยได้ยินคนแนะนำให้เอาธูปจี้ตาปลา หรือใช้ของมีคมเฉือนตาปลาออก ข้อเตือนไว้ตรงนี้เลยค่ะว่าเป็นวิธีที่อันตรายมาก เพราะนอกจากอาจไม่ได้ช่วยให้ตาปลาหายแล้ว ยังทำให้เกิดแผลอักเสบติดเชื้อตามมาเป็นของแถม แบบนี้ไม่ไหวแน่
การป้องกันตนเองจากโรคตาปลา
1. หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าส้นสูง หรือหัวแหลม เนื่องจากจะเกิดการเสียดสีได้ง่าย
2. ควรเลือกใส่รองเท้าให้พอดีไม่คับหรือหลวมเกินไป
3. อาจหาแผ่นรองเท้ามารองในรองเท้า
4. เลือกรองเท้าสวมใส่กับกิจกรรมที่เหมาะสม
5. หากกระดูกเท้าของเรายื่นออกมามากกว่าปกติหรือผิดรูป ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษาให้ตรงจุด
6. สำหรับคนอ้วนควรลดน้ำหนักเพื่อลดแรงกดทับลงมายังฝ่าเท้า
ขอขอบคุณ : kapook , medthai