อย่าใจร้อน ค่อยๆ ฝึก จะทำให้เข้าใจชีวิตได้มากขึ้น
1. ฝึกไม่สะสมของ
การสะสมอะไรสักอย่ าง มันคือภาระเปล่าๆ ไม่มีอะไรที่เราสะสมแล้วไม่เป็นภาระหรอก นอกจากการสะสมความดี นอกนั้นคือภาระทั้งหมด ไม่มากก็น้อย
2. ฝึกตัวเอง ให้เข้าใจธรรมชาติมากขึ้น
จงคิดว่าอะไรๆ ก็ผ่านไป เมื่อมีความสุขก็ให้รู้ว่าเดี๋ยวความสุขสักวันก็ผ่านไป
เมื่อมีความทุ กข์ ก็ให้รู้ว่าทุ กข์ก็คงผ่านไป มีสถานการณ์แ ย่ๆ เกิดขึ้น ก็ให้รู้ทันว่าเรื่องราวนั้นๆ ก็คงผ่านไปอีกเหมือนกัน
3. ฝึกมองตัวเอง ให้เล็กเข้าไว้
จงเป็นคนธรรมดาเดินดิน อย่ าเป็นคนสำคัญ ที่ใหญ่โต ถ้ามีอะไรเกิดขึ้นมา อย่ าได้ให้ความสำคัญกับตัวเองเกินไป
4. ฝึกให้ตัวเองพ้นจากการเป็นท า ส เงิน
เราต้องหัดพอใจกับสิ่งที่เรามี ใช้อะไรอยู่ก็ให้จงพอใจ การที่คนเราจะเลิกเป็นท าสของเงินได้ เราจงเริ่มจากการรู้จักเพียงพอก่อน เมื่อรู้จักพอแล้ว ก็ไม่ต้องหาเงินอะไรมากมาย
และเมื่อไม่ต้องหาเงินมากแล้ว ชีวิตก็มีโอกาสทำอะไรที่มากกว่าการหาเงิน
5. ฝึกเป็นคนนิ่งๆ พูดในสิ่งที่ดี ถ้าอะไรไม่ดี ไม่ควร ก็อย่ าไปพูดให้มาก ไม่ว่าสิ่งนั้นจะถูกหรือไม่ก็ตาม
แต่เมื่อมันไม่ดีเป็นไปได้ก็ไม่ต้องพูด เพราะการพูดในทางเสี ยหายนั้น คงมีแต่ทำให้จิตใจเราตกต่ำลงก็แค่นั้น
6. เป็นคนสบายๆ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นกับความสมบูรณ์แบบมากไป เพราะความสมบูรณ์แบบ มีจริงซะที่ไหน
มีแต่คนโ ง่นั่นแหละ ที่มองว่าความสมบูรณ์แบบ มีอยู่จริง
7. ฝึกให้ตัวเองเสี ยสละ การที่คนๆ หนึ่งยอมเสี ยเป รียบผู้อื่นบ้าง เป็นเรื่องที่จำเป็น ใครก็ตามที่บ้ าความถูกต้อง บ้าเหตุผล
ไม่ยอมเสี ยเลย ไม่นานคนๆ นั้นก็จะเป็นบ้ า กลายเป็นคนที่ถูกทุกอย่ างแต่ไม่มีความสุขเลย
เพราะต้อง ป ะ ท ะ กับคนรอบข้างเต็มไปหมด เพื่อความถูกต้องที่ตนเองยึดมั่น
8. ฝึกเข้าใจเรื่องของการนิ น ท า คนเราต้องรู้ตัวว่า เราต้องถูกนินท าแน่นอน ถ้าถูกนินท า
ขอให้รู้ว่าเรามาถูกทางแล้ว แปลว่าเรายังมีตัวตนอยู่บนโลก แล้วคนที่ชอบเต้นแร้งเต้นกากับคำนินท า เขาคือคนไม่รู้เท่าทันโลกไงล่ะ
9. ฝึกอยู่กับปัจจุบันให้มีความสุข
พอเรากำลังรู้สึก ห ด หู่ ใจ นั่นแปลว่า เรากำลังอยู่กับอดีต ถ้าเรากำลังรู้สึกกังวลใจ นั่นแปลว่าเรากำลังอยู่กับอนาคต เมื่อเรากำลังรู้สึกดีและมีความสุข แปลว่าเรากำลังอยู่กับปัจจุบัน
พระพุทธเจ้า ทรงแนะว่าให้ทำทีละอย่ าง โฟกัสทีละงาน ทุกข์นั้นจะเข้าไม่ถึงใจเรา