ภูมิปัญญาชาวบ้าน เสวียนไม้ไผ่ เก็บใบไม้แห้งใส่โคนต้นไม้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย

     เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่หลายคนอาจจะเคยเห็นกันมานานแล้ว แต่สมัยนี้อาจจะไม่ค่อยมีใครทำใช้แล้ว สำหรับ "เสวียนไม้ไผ่" ใช้เป็นตะกว้าเก็บเศษใบไม้แห้งต่างเพื่อทำเป็นบุ๋ยไว้ใส่ให้ต้นไม้ และยังช่วยทำให้เศษไม้ไม้ไม่ฟุ่งกระจายสะอาดหูสะอาดตาด้วย 

เสวียนไม้ไผ่

       วันนี้เราจะพาไปดูวิธีขั้นตอนในการทำเสวียนไม้ไผ่ บอกเลยว่าวิธีการทำง่ายๆ ใช้ประโยชน์ได้เป็นอย่างดี ไปดูกันเลย โดยขั้นตอนมีดังนี้

       1.หาวัสดุที่จะนำมาทำโดยใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นนั้นๆ ซึ่งไม้ไผ่ที่มีอายุ 1- 2 ปีนั้น ส่วนมากจะนิยมมาทำเสวียน

        2.ทำการตัดไม้ไผ่ออกเป็นท่อนๆ เพื่อทำเป็นเสาหลัก อยากได้สูงขนาดไหน ก็สามารถตัดได้ตามต้องการ และใช้อีกส่วนของไม้ไผ่มาเหลา เพื่อให้เป็นเส้นขนาดไม่ต้องใหญ่มาก พอให้สามารถโค้งงอได้

       3.ทำการวัดขนาดความกว้างของเสวียน และวัดเส้นผ่านศูนย์กลาง ให้ได้ประมาณ 2-3 เมตร หรืออาจจะใหญ่กว่านั้นก็ได้ตามใจและตามความเหมาะสมของผู้สานส่วนมากจะนิยม 7 9 11 เป็นต้น เพราะเป็นการง่ายต่อการสาน

        4.เมื่อเราสานเรียบร้อยแล้ว ให้นำหลักที่เราเตรียมไว้นั้น นำมาตอกลงกับดิน ให้ห่างกันประมาณ 20 ซม. จากนั้นก็นำเส้นไม้ไผ่ที่ได้มาสานนั้น  ทำการวนสลับกัน ให้เต็มหลักจนรอบ การทำเสวียนนั้นไม่จำเป็นว่าต้องทำเป็นวงกลม อาจจะทำเป็นสี่เหลี่ยม หรือเป็นรูปต่างๆก็ได้ ตามแต่เราจะออกแบบให้สวยงาม

เก็บเศษใบไม้แห้ง

สอนเด็กนักเรียนให้ได้เรียนรู้ 

อนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน

        เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่หลายคนอาจจะลืมไปแล้ว ประดิษฐ์เสวียนไม้ไผ่ ทำให้ไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าบุ๋ย และลดการเผาไหม้ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนในปัจ