Home »
Uncategories »
คน 5 ประเภท ที่จะลำบาก และ อยู่ยากในสังคม ในอีก 3 ปีข้างหน้า
คน 5 ประเภท ที่จะลำบาก และ อยู่ยากในสังคม ในอีก 3 ปีข้างหน้า
คน 5 ประเภท ที่จะลำบาก และ อยู่ยากในสังคม ในอีก 3 ปีข้างหน้า
อาจารย์ Li Kaifu เคยกล่าวว่า “อีก 10 ปี งาน 50%
ของมนุษย์จะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์ หรือ อีกความหมายหนึ่งก็คือ อีก 10 ปี
มนุษย์กว่าครึ่งจะตกงาน”
เหมือนว่าเรื่องเหล่านี้จะไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปแล้ว เพราะ
ในปีที่ผ่านมา เราต่างเห็นบริษัทต่างๆทยอยปลดพนักงานออก และ
แทนที่ด้วยหุ่นยนต์ หรือ เครื่องจักร ซึ่ง คน 5 ประเภทเหล่านี้
มีความเสี่ยงที่จะเจอกันเหตุการณ์เหล่านี้
ประเภทที่ 1 : คนที่ไม่เข้าใจการลงทุนในตัวเอง
เวลาโทรกลับบ้าน แม่มักจะเตือนว่า : อย่าใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย
แต่ถ้าฉันประหยัด 1 ปีเก็บเงินได้ 1 แสน 10 ปี เก็บได้ 1 ล้าน นี่คือเก่งหรอ…?
ไม่ใช่…! เพราะเมื่อคุณใช้เวลา 10 ปีถึงจะเก็บเงินได้ 1 ล้าน คนอื่นอาจจะใช้เวลาแค่ปีเดียว
ตอนที่คุณยังเยาว์วัยคุณต้องรู้ว่าจะลงทุนกับตัวเองยังไง
เงินไร้ชีวิต แต่คนมีชีวิต
ถ้าทุกเดือนคุณเอาเงินส่วนหนึ่งมาลงทุนกับตัวเอง ไปเรียน ไปออกกำลังกาย ไปคบหาเพื่อน ไปเที่ยว ทำให้คุณค่าของตัวเองเพิ่มขึ้น
หลายปีผ่านไปคุณจะพบว่า เงินที่คุณใช้ไป คุณได้คืนกลับมาหลายเท่า
ประเภทที่ 2 : คนที่นอกเหนือจาก 8 ชั่วโมงไม่เรียนรู้
มีเพื่อนคนหนึ่งทำการค้าระหว่างประเทศ ทำงานปีแรกก็พบว่ามีลูกค้าชาวสเปนเยอะมาก ก็เลยเริ่มเรียนภาษาสเปน
ทุกวันหลังจากทำงานเสร็จจะไปเรียน 2 ชั่วโมง ไม่ว่าจะฝนตกพายุเข้าก็ไม่หยุด
ผ่านไป 3 ปี เนื่องจากความสามารถด้านภาษา
เพื่อนคนนี้มีโอกาสไปร่วมงานนิทรรศการการค้าต่างประเทศ
และได้ลูกค้ารายใหญ่หลายรายกลับมาด้วย ธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็ว
ปีที่ 7 เขาก็เปิดบริษัทของตัวเอง
ตลอดระยะเวลาแห่งงานเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เขาไม่เคยหยุดทำก็คือ ใช้เวลานอกเหนือจาก 8 ชั่วโมงในการเรียนรู้
ยุคสมัยนี้เป็นยุคแห่งการเรียนรู้ ความรู้เติบโตขึ้นในอัตราร้อยละ 10 ต่อปี
ไม่ว่าใครก็จำเป็นต้องเรียนรู้ไปตลอด เพิ่มความรู้ใหม่ๆให้ตัวเอง การปฏิเสธการเรียนรู้ก็จะไร้อนาคต และยากที่จะแตกต่าง
ประเภทที่ 3 : คนมองอะไรสั้นๆ ตัดสินแค่สิ่งที่อยู่ตรงหน้าทันที
หลังเรียนจบ Li Ting และ Tan Sisi เข้าไปฝึกงานที่บริษัทบัญชีแห่งหนึ่งด้วยกัน
หลังหมดระยะฝึกงาน บริษัทเสนอให้ไปศึกษางานที่สำนักงานใหญ่ในฮ่องกง 2 ปี
แต่ได้เงินเดือนครึ่งเดียว ไม่มีค่าคอมมิชชั่น Li Ting
รู้สึกว่าเงินเดือนน้อยเกินไป แถมไม่คุ้นเคยกับฮ่องกง ก็เลยไม่เอา
ส่วน Tan Sisi กล้าตัดสินใจเลือกไปฮ่องกง ในมุมมองของเธอ ไปศึกษางานแถมยังได้เงินเดือน เป็นเรื่องที่คุ้มแสนคุ้ม
ผ่านไป 2 ปี Tan Sisi กลับมาที่บริษัทในฐานะหัวหน้าโครงการคนใหม่ รายได้
1 ล้านบาทต่อปี ส่วน Li Ting ยังคงทำงานในตำแหน่งเดิม
เงินเดือนในตอนนี้ไม่ถึง 1 ใน 3 ของ Tan Sisi
คนที่ไม่แคร์สิ่งที่อยู่ข้างหน้า มองการณ์ไกล ถึงจะเป็นคนเก่งที่แท้จริง
ประเภทที่ 4 : คนที่ทำงานร่วมกับคนอื่นไม่เป็น
บริษัทต่างชาติแห่งหนึ่ง ให้เงินผู้สมัครงาน 75 บาท ให้พวกเขาไปหาอะไรกินด้วยกัน
6 คนไปถึงร้านอาหารด้วยกัน แต่ข้าวจานหนึ่งอย่างต่ำ 15 บาท เงินที่พวกเขามีไม่พอจะซื้อข้าวคนละจาน ก็เลยกลับไปบริษัทอย่างหงุดหงิด
พอถึงบริษัท ประธานบริษัทรู้เข้าก็ส่ายหน้า : “ขอโทษด้วย พวกคุณไม่เหมาะกับบริษัทเรา”
ร้านอาหารร้านนั้น มีโปรโมชั่นซื้อ 5 แถม 1 หรือถึงแม้ไม่มีโปร
ก็ยังขอจานเปล่ามาหนึ่งใบ แล้วสั่งข้าว 5 จานมาแบ่งกันกินได้
แต่ผู้สมัครทั้ง 6 คนไม่มีใครคิดว่ามาด้วยกัน เป็นทีมเดียวกัน
ทุกคนต่างคิดถึงแต่ตัวเอง ถึงได้มือเปล่ากลับไป
นักปรัชญา Ai Siqi กล่าวไว้ว่า : “แต่ละคนก็เหมือนอิฐก้อนนึง
โยนลงไปบนถนนก็ง่ายที่จะถูกเตะไปมา แต่ถ้าคุณเอาอิฐหลายๆก้อนมาก่อเป็นผนัง
ก็ยากที่จะมีใครทำให้เคลื่อนไหวได้”
ประเภทที่ 5 : คนที่ตอบสนองต่อสิ่งใหม่ๆ ช้า
สองปีก่อนนโยบายลูกคนที่ 2 ถูกประกาศออกมา
คนที่ตอบสนองอย่างรวดเร็วรีบคว้าโอกาสในการทำธุรกิจ
ลงทุนในกิจการที่เกี่ยวกับแม่และลูก จนเจริญรุ่งเรือง
ปี 2011 WeChat ถูกเปิดตัว ปี 2012 หลายๆคนกำลังเรียนรู้ว่าใช้ยังไง
แต่คนที่มีเซนส์ได้ค้นพบประโยชน์ของแพลทฟอร์มนี้
และเปิดแอคเค้าท์สาธารณะของตนเองเป็นที่เรียบร้อย
ตอนนี้แอคเค้าท์ที่ขึ้นต้นด้วย V ก็คือแอคเค้าท์ที่เริ่มในสมัยนั้น
เมื่อก่อนคนพูดกันว่า ปลาเล็กกินปลาใหญ่ ตอนนี้ต้องเปลี่ยนเป็นปลาเร็วกินปลาช้า
สิ่งใหม่ๆที่ปรากฏขึ้น มักมาพร้อมกับโอกาสทางธุรกิจ แต่เมื่อโอกาสผ่านไป คนที่ช้า ก็จะไม่มีทางได้สัมผัส
ในยุคนี้ พวกเราต้องมีสัญชาตญาณของวิกฤต ค้นหาและแก้ไข้ข้อบกพร่องของตัวเองอย่างทันท่วงที เพื่อที่จะพัฒนาต่อไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น
ไม่อย่างนั้น 3 ปีผ่านไป คุณจะพบว่า คุณถูกคนอื่นๆทิ้งไว้ข้างหลังแล้ว
เหมือนที่ Bill Gates พูดไว้ว่า : change, otherwise it will be changed. “เปลี่ยนก่อนที่จะถูกบังคับให้เปลี่ยน”
จะเห็นว่าตัวอย่างที่หยิบยกมานั้น ไม่ได้เจาะจงถึงอาชีพใด เพราะ
ทุกอาชีพล้วนมีโอกาสตกงานได้ทั้งนั้น
แต่ยกตัวอย่างให้เห็นถึงทัศนะคติที่จะเป็นสิ่งตัดสินว่า คุณจะถูกแทนที่
หรือ ได้ไปต่อ
Cr. แหล่งที่มาจาก : LIEKR