จากกระแสสุดฟินเวอร์ของละครดังอย่าง บุพเพสันนิวาส
ที่มีเนื้อเรื่องประกอบกับประวัติศาสตร์ไทยในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์
ทำให้หลายๆคนย้อนกลับไปดูหรือไปอ่านประวัติศาสตร์ของบุคคลสำคัญของแผ่นดินไทย
ซึ่งวันนี้จะมานำเสนอประวัติของ “หลวงศรียศ” หรือ “พระยาจุฬาราชมนตรี
(แก้ว)” ข้าหลวงไทยเชื้อสายเปอร์เซีย มีบิดาคือ พระยาศรีเนาวรัตน์
(อากามะหะหมัด) มารดาชื่อ ท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์
(ยี) และมีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด)
ซึ่งคือต้นตระกูล “บุนนาค” ที่เดินทางมาจากอิหร่าน
ตามมาอ่านกันดีว่าว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
เนื้อเรื่องของ “บุพเพสันนิวาส” ย้อนอดีตไปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือราวปี พ.ศ.2125 และได้รวบรวมตัวละครมากมายที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ อาทิเช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ) เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และอื่นๆอีกมากมาย มาร้อยเป็นเรื่องราว
หนึ่งในนั้นคือ “หลวงศรียศ” หรือ “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ข้าหลวงไทยเชื้อสายเปอร์เซีย มีบิดาคือ พระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อ ท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) และมีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ซึ่งคือต้นตระกูล “บุนนาค” ที่เดินทางมาจากอิหร่าน
จากข้อมูลประวัติศาสตร์ ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก จึงได้รับภารกิจลงไปเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาที่เมืองปัตตาเวีย
ด้วยความสนใจในประวัติศาสตร์ ด้วยความภาคภูมิใจในวงศ์ตระกูล ด้วยแรงกระตุ้นจากปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสและด้วยความสงสัยแต่เยาว์วัยว่า “เราคือบุนนาค สายไหนหนอ?” … “ต้นตระกูลเราเป็นใคร?” … “ทำไมจึงมีคนมากมายนามสกุลเหมือนเรา?” …จึงทำให้ผมศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังเพื่อลำดับสาแหรกของตนเองให้ได้ซึ่งผมจะลำดับให้ผู้อ่านผ่านบทประพันธ์หลายเรื่องตั้งแต่ บุพเพสันนิวาส สู่ พันท้ายนรสิงห์ สู่ ศรีอโยธยา ยาวสู่ทวิภพ
อย่างไรก็ตาม บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” ในละครบุพเพสันนิวาส เฉกเช่น “หลวงศรียศ” ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่ง “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หาใช่บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” เพียงท่านเดียวที่รับราชการสมัยนั้น… “เจ้าพระยาชำนาญภักดี” สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ คือ บรรพบุรุษสกุลบุนนาคอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็น “หลานตา” ของ “เจ้าพระยาบวรราชนายก” (เฉกอะหมัด) ต้นตระกูลบุนนาค ซึ่งถวายตัวรับใช้ราชการในรัชสมัย “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” และ “สมเด็จพระเพทราชา”
อีกประการสำคัญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หาใช่ยุครุ่งเรืองทางการค้าและการทูตเท่านั้น หากเป็นยุคด้านวรรณกรรม เพราะมีกวีลือนามแห่งรัชสมัยได้แก่ “พระโหราธิบดี” หรือ “พระมหาราชครู” ผู้ประพันธ์หนังสือ “จินดามณี” ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และกวีอีกผู้หนึ่งคือ “ศรีปราชญ์” ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนิรุทธคำฉันท์
เนื้อเรื่องของ “บุพเพสันนิวาส” ย้อนอดีตไปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือราวปี พ.ศ.2125 และได้รวบรวมตัวละครมากมายที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ อาทิเช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ) เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และอื่นๆอีกมากมาย มาร้อยเป็นเรื่องราว
หนึ่งในนั้นคือ “หลวงศรียศ” หรือ “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ข้าหลวงไทยเชื้อสายเปอร์เซีย มีบิดาคือ พระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อ ท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) และมีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ซึ่งคือต้นตระกูล “บุนนาค” ที่เดินทางมาจากอิหร่าน
จากข้อมูลประวัติศาสตร์ ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก จึงได้รับภารกิจลงไปเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาที่เมืองปัตตาเวีย
ด้วยความสนใจในประวัติศาสตร์ ด้วยความภาคภูมิใจในวงศ์ตระกูล ด้วยแรงกระตุ้นจากปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสและด้วยความสงสัยแต่เยาว์วัยว่า “เราคือบุนนาค สายไหนหนอ?” … “ต้นตระกูลเราเป็นใคร?” … “ทำไมจึงมีคนมากมายนามสกุลเหมือนเรา?” …จึงทำให้ผมศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังเพื่อลำดับสาแหรกของตนเองให้ได้ซึ่งผมจะลำดับให้ผู้อ่านผ่านบทประพันธ์หลายเรื่องตั้งแต่ บุพเพสันนิวาส สู่ พันท้ายนรสิงห์ สู่ ศรีอโยธยา ยาวสู่ทวิภพ
อย่างไรก็ตาม บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” ในละครบุพเพสันนิวาส เฉกเช่น “หลวงศรียศ” ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่ง “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หาใช่บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” เพียงท่านเดียวที่รับราชการสมัยนั้น… “เจ้าพระยาชำนาญภักดี” สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ คือ บรรพบุรุษสกุลบุนนาคอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็น “หลานตา” ของ “เจ้าพระยาบวรราชนายก” (เฉกอะหมัด) ต้นตระกูลบุนนาค ซึ่งถวายตัวรับใช้ราชการในรัชสมัย “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” และ “สมเด็จพระเพทราชา”
อีกประการสำคัญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หาใช่ยุครุ่งเรืองทางการค้าและการทูตเท่านั้น หากเป็นยุคด้านวรรณกรรม เพราะมีกวีลือนามแห่งรัชสมัยได้แก่ “พระโหราธิบดี” หรือ “พระมหาราชครู” ผู้ประพันธ์หนังสือ “จินดามณี” ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และกวีอีกผู้หนึ่งคือ “ศรีปราชญ์” ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนิรุทธคำฉันท์